องค์สถาปนา

องค์สถาปนา
r5
           พระชีวประวัติโดยสังเขป พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๙ พระองค์ เป็นพระราชปิโยรสที่สนิทเสน่หา ของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาแต่ทรงพระ เยาว์โปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดพระองค์เสมอ แม้ในเวลา เสด็จประพาสหัวเมืองใกล้หรือไกลก็โปรดให้โดยเสด็จด้วยทุกครั้ง พอทรงพระเจริญขึ้นก็ได้รับสนองพระบรมราชโองการ ในพระราชกิจใหญ่น้อยต่างพระเนตรพระกรรณตลอดรัชกาล สำหรับการศึกษาวิชาทั้งปวง พระองค์ทรงเล่าเรียนในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอกรมหลวงวรเสรฐสุดา ซึ่งเป็นขัตติยนารีทรง รอบรู้ทั้งอักขรสมัยและโบราณราชประเพณี นอกจากนี้ก็ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ ซึ่งนับถือกันในสมัยนั้นว่า สมควรแก่พระราชกุมาร ทุกอย่าง เช่น ภาษามคธ ทรงมีพระปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อยังเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต เป็นพระอาจารย์ การยิงปืน ไฟ ทรงศึกษาในสำนักพระยาอภัยศรเพลิง (ศรี) วิชามวยปล้ำ กระบี่กระบอง ทรงศึกษากับหลวงพลโยธานุโยค(รุ่ง) วิชาอัศวกรรม ทรงศึกษาในสำนักหม่อมเจ้าสิงหนาท ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษเทเวศร์ และวิชาคชกรรม ทรงศึกษากับสมเด็จพระบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่วิชารัฎฐาภิบาลราชประเพณี และโบราณคดีทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานการฝึกสอนเองตลอดมา ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้จัดการพระราชพิธีรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ และให้เป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ โปรดให้จัดหาครู ฝรั่งที่เมืองสิงคโปร์คือนางแอนนา เลียวโนเวนส์ เข้ามาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระองค์ทรงเล่าเรียนภาษา อังกฤษดังกล่าวอยู่จนครบกำหนดผนวชเป็นสามเณร ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ และเมื่อทรงลาผนวชเสด็จออกไปอยู่ฝ่ายหน้าแล้วก็ได้ทรงเล่าเรียนต่อจากหมอจันดเล มิชชันนารี ชาวอเมริกันพร้อมๆ กับที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงกวดขันในเรื่องราชการงานแผ่นดินยิ่งขึ้น คือนอกจากที่เสด็จเข้าเฝ้าและโดย เสด็จตามปกติในเวลากลางคืน ถ้าทรงพระราชวินิจฉัยข้อราชการก็มีรับสั่งให้หาสมเด็จพระราชโอรสเข้าไปปฎิบัติประจำพระองค์ เพื่อรับฟังพระบรมราโชวาทและพระบรมราชาธิบายในกระแสรับสั่ง ข้อราชการไปยังเสนาบดีผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ อยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงได้รับความรู้ในเรื่องการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งนี้น่าจะเป็น เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๐๘ อันหมายถึงการเปลี่ยนฐานะของสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มาอยู่ในที่รัชทายาท จึงต้องทรงรับการเตรียมการเพื่อปกครองแผ่นดินสืบไปในภายหน้า ดังในปี พ.ศ.๒๔๑๐ พระองค์ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศขึ้นสูงกว่าเดิม เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ และทรงรับ หน้าที่ในราชการแผ่นดินด้วยการบัญชากรมมหาดเล็ก กรมล้อมพระราชวังและกรมพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๑๑ ที่ประชุมของเหล่าเสนาบดีและบรรดาพระบรมวงศา นุวงศ์ผู้ใหญ่จึงเห็นพ้องกันถวายราชสมบัติ แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ิสืบสันตติวงศ์ ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาท เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นรัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยมีกรม หมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวร สถานมงคล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ แต่โดยเหตุที่พระองค์ทรงได้รับราชสมบัติในขณะที่ยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้า พระยา) ได้รับแต่งตั้งตามความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี ถึงแม้ว่าจะยังทรงพระเยาว์อยู่ พระองค์ก็เสด็จออกขุนนางตาม กำหนดและประทับเป็นประธานในพระราชพิธีต่าง ๆ เสมอ ทรงเข้าร่วมในการประชุมเสนาบดี และทรงรับรู้ข้อราชการต่างๆ จาก การกราบบังคมทูลของผู้สำเร็จราชการอยู่เสมอ จึงเป็นการศึกษางานเกี่ยวกับปกครองแผ่นดินเพื่อเตรียมพระองค์ ที่จะบริหารราชการ เองในภายหน้าในขณะเดียวกันก็ได้ทรงวางพระองค์ ให้เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของข้าราชบริพารโดยมิได้วางอำนาจถือพระองค์ว่าเป็น พระเจ้าแผ่นดิน ทรงปฏิบัติต่อพระประยูรญาติและพระราชวงศ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เจริญพระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จออกทรงผนวช เป็นพระภิกษุอยู่ ๑๕ วัน แล้วจึงลาผนวช นับเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่เสด็จออกทรงผนวชในระหว่าง ครองราชสมบัติ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว สามารถจะว่าราชการแผ่นดินได้เองโดยสิทธิ์ขาดไม่ต้องมีผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินอีกต่อไป จึงได้จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกใหม่เป็นครั้งที่สองตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ สิ่งพิเศษที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวก็คือ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในงานพระราชพิธีว่า ตั้งแต่นี้ไปการ หมอบเฝ้าให้ให้เลิกทรงสั่งให้พระราชวงศ์และข้าราชการซึ่งกำลังหมอบเฝ้าอยู่นั้น ให้ลุกขึ้นยืนทั้งหมด โดยทรงให้เหตุผลว่า ประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้านั้นไม่เหมาะสมกับสมัยของบ้านเมืองแล้ว และในโอกาสเดียวกัน พระองค์ได้ทรงสถาปนาเจ้าพระยาศรีส ุริยงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ได้รับบรรดาศักดิ์สูงสุดในฝ่ายขุนนาง เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพื่อตอบแทนคุณ ความดีที่รับราชกาลฉลองพระเดชพระคุณแทนพระองค์มาเป็นเวลา ๕ ปี
Scroll to Top